Friday 14 December 2007

รู น ส์

อักษรรูนส์ ต้นกำเนิดของอักษรรูนส์มีน้อยมาก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูนส์ ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน
จารึกอักษรรูนส์ที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 643 แต่จารึกส่วนใหญ่อยู่ในราว พ.ศ. 1600 พบทั้งยุโรปตั้งแต่
แหลมบอลข่าน เยอรมัน สแกนดิเนเวีย ไปจนถึงอังกฤษ ทิศทางการเขียนช่วงแรกผันแปรมาก โดยมากอยู่ในแนวซ้ายไปขวา ไม่มีการแบ่งช่องว่างระหว่างคำมากนัก โดยอาจมีการใช้จุดหนึ่งจุดหรือมากว่า จารึกที่พบมีทั้งจารึกบนผาสูง หินขนาดใหญ่ สิ่งก่อสร้าง จารึกทางศาสนาและเวทมนตร์ จารึกเก่ยวกับการ้าและการเมือง จดหมายส่วนบุคคล ข้อความสั้นๆและจารึกในงานศิลปะ



รูปแบบ

อักษรรูนส์มีหลายรุปแบบดังต่อไปนี้
อักษรฟูทาร์กรุ่นแรก (Elder Futhark)เป็นรูปแบบเก่าสุดที่พบในยุโรป ที่เป็นบ้านเกิดของเผ่าเยอรมัน รวมทั้งสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆอาจพัฒนาไปจากรูปแบบนี้
อักษรรูนส์ โกธิก ใช้เขียน
ภาษาโกธิกที่เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก แต่จุดเริ่มต้นยังไม่ชัดเจน จารึกอักษรนี้เหลืออยู่น้อยมาก ถูกแทนที่ด้วยอักษรอื่นเมื่อราว พ.ศ. 900
อักษรฟูทาร์ก แองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon Futhorc) มีการเพิ่มอักษรบางตัวเข้ามาเพื่อใช้เขียน
ภาษาแองโกล-แซกซอน ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ คาดว่าอักษรนี้เข้าไปในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 1000 และใช้มาจนถึง พ..ศ. 1600 มักพบบนเครื่องประดับ ก้อนหิน อาวุธ และอื่นๆ
อักษรฟูทาร์กรุ่นใหม่ (Younger Futhork) พัฒนาจากอักษรรุ่นเก่า และคงตัวอยู่จนถึง พ.ศ. 1300 เป็นอักษรหลักใน
นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินเมื่อศาสนาคริสต์แพร่ไปถึง อักษรใน 3 ประเทศนี้ต่างกันเล็กน้อย


อักษรรูนส์ ฮังการี
อักษรรูนส์ ฮังการี พัฒนามาจากอักษรเตอร์กิกที่ใช้ในเอเชียกลาง อักษรนี้เลิกใช้เมื่อกษัตริย์อิสต์วานที่เป็นกษัตริย์ชาวคริสต์คนแรกของอิตาลีสั่งให้ทำลายงานเขียนที่ไม่เก่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ให้หมด แต่อักษรรูนส์นี้ยังใช้มาจนถึง พ.ศ. 2393 อักษรนี้เขียนกลับไปกลับมาเริ่มจากขวาไปซ้ายแล้วซ้ายไปขวา เหมาะกับภาษาฮังการีมากกว่าอักษรละติน

การทำนายด้วยอักษรรูนส์
1. การทำนายแบบโนร์น (Norns)
โนร์นเป็นเทพธิดาแห่งโชคชะตาของนอร์ส แบ่งเป็น 3 องค์ด้วยกัน ได้แก่อุร์ดองค์โต ผู้ดูแลอนาคต เวอร์ดันดี (หรือเวียร์ดันดี) องค์รอง ผู้ดูแลปัจจุบัน และสกุลด์องค์เล็ก ผู้ดูแลอดีตกาล Layout นี้ง่ายมากๆ เวลาที่คุณหยิบรูนขึ้นมาจากถุงให้หยิบขึ้นมาทีละอันแล้ววางเรียงเป็นแถวเส้นตรงครับ หยิบทั้งหมด 3 อันอันไหนที่หยิบมาแล้วคว่ำอยู่ ให้คุณพลิกหงาย รูนตัวที่อยู่ทางซ้ายสุดกล่าวถึงเหตุที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งส่งผลมายังปัญหานี้ รูนกลางหมายถึงสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ส่วนรูนตัวสุดท้ายเป็นแนวโน้มสูงสุดที่จะเกิดในอนาคต (หากคุณไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใดๆ เลย) พูดอีกอย่างว่าไม่ใช่สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนครับ (เนื่องจากอนาคตสามารถเปลี่ยนแปลงได้)
2. การทำนายแบบรูนห้าตัว
หยิบรูนขึ้นมาจากถุงพร้อมกันทีเดียวห้าอันแล้ววางคว่ำบนผืนผ้าโดยให้เรียงเป็นรูปเครื่องหมาย + เมื่อวางเสร็จแล้วต้องการอ่านคำพยากรณ์จึงจะพลิกหงายขึ้นทีละอัน อักษรรูน 3 ตัวที่เรียงกันในแนวนอนนั้นมีความหมายแบบเดียวกับการทำนายแบบโนร์น รูนตัวบนหมายถึงสิ่งที่คุณจะได้รับความช่วยเหลือในปัญหานี้ ส่วนรูนตัวล่างหมายถึงสิ่งที่คุณจะต้องยอมรับเกี่ยวกับปัญหานี้ว่าคุณอาจไม่สามารถไปแก้ไขมันได้ การทำนายด้วย Layout นี้เหมาะกับการทำนายอนาคตอันใกล้ระยะไม่เกิน 3 เดือน อักษรรูนตัวไหนถ้าพลิกขึ้นมาแล้วเห็นเป็นรูนหัวกลับก็ให้ตีความแบบเดียวกับไพ่ทาโร่ต์ คือโดยทั่วไปจะมีความหมายตรงข้ามกับปกติ
3. การทำนายแบบรูนเจ็ดตัว
ข้อดี (และข้อเสีย) ของการทำนายด้วย Layout นี้ก็คือคุณสามารถตั้งคำถามที่กว้างกว่าการคาดคั้นเอาคำตอบแบบ ใช่/ไม่ใช่ แต่ก็ต้องระบุเวลาที่แน่นอนลงไปในคำถามด้วย (ถ้าคุณต้องการให้ผลการทำนายชัดเจนกว่าระยะเวลาคร่าวๆ แค่ 3 เดือน) เพราะว่า Layout นี้ให้ข้อมูลคุณค่อนข้างมากทีเดียว (แล้วก็แน่นอนว่าทำให้การตีความอย่างแม่นยำทำได้ยากมากขึ้นด้วย ถ้าไม่มีประสบการณ์)
หยิบรูนขึ้นมาพร้อมกันเจ็ดตัวแล้ววางคว่ำเป็นแถวนอน 6 ตัว ส่วนอีก 1 ตัวที่เหลือนั้นให้วางแยกไว้ข้างหลังไปอยู่คนละแถวกัน การตีความ Layout แบบนี้คุณต้องตีความอักขระทีละ 2 ตัวพร้อมกันครับ หงาย 2 ตัวแรกขึ้นมา นี่คือตัวปัญหาที่คุณถามไป รูนอีก 2 อันถัดมาคือปัจจัยในอดีตที่ส่งให้เกิดผลตามมาถึงปัจจุบันนี้ รูน 2 ตัวสุดท้ายของแถวสำคัญมากที่สุด เพราะมันคือคำแนะนำที่คุณจะได้รับผ่านอักษรรูน รูนตัวที่ 7 ที่เราแยกไว้ต่างหากตอนแรกนั้นหมายถึงผลลัพธ์ที่จะออกมา (แน่นอนว่าเป็นแค่แนวโน้มครับ อนาคตเปลี่ยนแปลงได้) เช่นเคย ถ้าอักษรรูนหัวกลับก็ตีความตรงข้ามกับความหมายเดิมนะครับ
4. การทำนายแบบรูนเก้าตัว
เลข 9 เป็นเลขแห่งเวทมนต์ในความเชื่อของนอร์ส Layout นี้จะประเมินสภาพการณ์โดยรวมของตัวบุคคลออกมา (และอาจชี้ทางให้เป็นนัยๆ) การใช้ Layout นี้ช่วงที่เราจะเพ่งสมาธิไปที่คำถามนั้น เราอาจจะตั้งหรือไม่ต้องตั้งคำถามก็ได้(แต่ก็ต้องมีสมาธิ)
หยิบรูนขึ้นมาทีเดียว 9 ตัวแล้ว cast ไปบนผ้าครับ รูนที่กระเด็นออกไปนอกผืนผ้าอันนี้แล้วแต่คน แต่โดยทั่วไปจะถือว่าไม่เป็นรูนที่มีความสำคัญ และไม่ต้องไปตีความมันก็ได้ การตีความจะทำจากรูนที่หงายอยู่ก่อน รูนเหล่านี้คือสภาพการณ์ในปัจจุบันของคุณ รูนที่อยู่ตรงกลาง หรือบริเวณกลางๆ ผืนผ้าคือรูนที่มีความสำคัญมากถึงมากที่สุด แล้วก็ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงขอบผ้าคือรูนที่กล่าวถึงสภาพทั่วไป หรือไม่สำคัญมากนัก
เมื่อตีความรูนที่หงายอยู่เสร็จแล้วพลิกรูนตัวอื่นๆ มาตีความทีละอันโดยไม่ย้ายตำแหน่งของมันครับ รูนเหล่านี้แหละคือคำแนะนำ และข้อความของอักษรรูนถึงตัวคุณ

สาปแช่งด้วยรูนส์
ในยุคของพวกไวกิ้งนั้นการทำ Nidstang ถือเป็นพิธีกรรมสาปแช่งศัตรูที่เป็นที่นิยมมาก พวกเขาเอาหลักยาวราวเก้าฟุตจารึกอักษรสาปแช่งด้วยรูนปักลงในพื้นดิน ปลายส่วนบนของหลักนั้นจะติดกะโหลกม้าเอาไว้โดยให้หันหน้า (ของกะโหลกม้า) ไปทางบ้าน หรือที่อาศัยของผู้ที่ต้องการสาปแช่ง หลักนี้ปักลงในดินเพื่อให้อำนาจแห่งการทำลายล้างของเฮลา (Hela ของนอร์สไม่ใช่ Hera ของกรีกนะครับ) ผู้มีกายเป็นครึ่งซีกและมีกายอีกซีกเป็นศพซึ่งปกครองนรกภูมิเฮลไฮม์ไหลผ่านขึ้นมา และปลดปล่อยออกไปผ่านทางกะโหลกม้า ส่วนอักษรรูนที่จารึกนั้นเป็นการระบุถึงพลังที่เราต้องการใช้ในการสาปแช่งนั่นเอง (เช่นการเขียนอักษร Thorn ลงไปนั้นเป็นการใช้อำนาจของอสุรกายที่เรียกว่า Moldthur ครับ) อักษรที่เราจะสลักลงไปนั้นอาจใช้เป็นข้อความหรือสลักอักษรโดดๆ ลงไปซ้ำๆ กันก็ได้ เพียงแต่ต้องให้ความหมายของอักษรนั้นๆ เป็นไปในเชิงสาปแช่งเท่านั้นพอ
ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมกะโหลกที่ใช้ถึงต้องเป็นของม้า ก็เพราะว่าม้าเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของเทพเจ้าโอดิน เทพเจ้าแห่งรูนและมนตรา และก็เทพโอดินนี้เองที่เป็นผู้นำอักษรรูนมาเผยแพร่แก่มนุษย์อีกด้วย
การทำ Nidstang นั้นในความเห็นถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะ Nidstang ใช้ประโยชน์จากการรบกวนพวกภูตพรายแห่งพิภพ (ลานด์เวเทียร์) ให้เกิดความแค้นเคืองขึ้น แล้วไปลงที่ผู้ที่เราต้องการสาปแช่ง เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่งที่เราต้องการสนองความแค้นส่วนตัว แต่ยังต้องไปรบกวนภูตพรายเหล่านี้อีกด้วย (ยิ่งไปกว่านั้นคำสาป Nidstang บางประเภทยังทำการขับไล่ หรือทำให้ลานด์เวเทียร์ในบริเวณนั้นต้องล้มตายไปอีกด้วย)
อย่างไรก็ตาม Nidstang นี้ถือเป็นเรื่องจริงจังมากๆ ไม่ควรเอาไปทำเล่นๆ ชุ่ยๆ เด็ดขาด ยิ่งไปกว่านั้นมันยังถือเป็นการเหยียดหยามผู้ที่ถูกสาปแช่งอย่างแรง จวบจนปัจจุบันนี้ Nidstang ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ไม่ได้ใช้กะโหลกม้าแล้ว มีชาวอเมริกันมากมายที่ทำ Nidstang กันเนื่องในเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายนอีกด้วย แต่เรื่องของ Nidstang ในสมัยใหม่นี้ผู้เขียนยังไม่รู้มากนัก

No comments: